สุดยอด !!! ปลาหมอไทย แปลงเพศ เลี้ยง 4 เดือน (ตัวละ 1 กิโลกรัม) Unknown 10:08 ข่าวด่วน Edit เลี้ยงปลาหมอไทย ปลาหมอแปลงเพศ (ตัวเมีย) เลี้ยงโดยอาหารปลาดุก เลี้ยง 3-4 เดือน จับขายได้ รายได้ดี ยอดจองพันธุ์ปลาหมอไทย ยาวข้ามปีฟาร์มเลี้ยงปลาหมอไทย ฟาร์มโปโล อ.กมลาไสย จ.กาฬสินธุ์ เลี้ยงปลาหมอแปลงเพศ และเลี้ยงโดยอาหารปลาดุก ใช้เวลาเลี้ยงให้อาหารเช้าเย็นอยู่ประมาณ 3 เดือน ปลาจะมีขนาดประมาณ 300-400 กรัม หรือประมาณ 3 ตัว ต่อ 1 กก. ขณะที่การเลี้ยงในระยะเวลา 120 วัน จะมีขนาดตัวละ 1 กก. อึด ทน ตัวใหญ่ เลี้ยงแล้วรวย ปลาหมอกาฬสินธุ์ ฟาร์มโปโลปลาหมอตัวละ 1 กก. เป็นความสำเร็จของเกษตรกรในพื้นที่ จ.กาฬสินธุ์ ที่อาศัยการลองผิดลองถูกเกือบ 4 ปี นำปลาหมอพันธุ์พื้นบ้านที่จับได้ตามท้องไร่ท้องนาผสมข้ามสายพันธุ์กับปลาหมอในท้องตลาด ผ่านกระบวนการแปลงเพศปลาหมอจนเป็นสายพันธุ์ที่นิ่ง ไม่ข้ามสายพันธุ์อีก ชื่อเสียง และคุณภาพของปลาหมอจากโปโลฟาร์ม เป็นที่ยอมรับมาอย่างยาวนานเกือบ 10 ปี จนเจ้าของฟาร์มอย่าง นิตยา กัณฑิศักดิ์ วัย 46 ปี มีเครือข่ายเป็นเกษตรกรเพาะเลี้ยงปลาหมออยู่ทั่วประเทศ และมีฟาร์มเพาะเลี้ยงปลาหมอของตัวเองกว่า 40 บ่อด้วยความอุดมสมบูรณ์ของบ้านโปโล ต.กมลาไสย อ.กมลาไสย จ.กาฬสินธุ์ ในเขตชลประทานลำปาวรับน้ำกลายเป็นแหล่งเลี้ยงปลาหมอแหล่งใหญ่ที่สุดในประเทศ มีอัตราเฉลี่ยปลาหมอสู่ตลาดราว 700 – 800 ตันต่อปี เพราะชาวบ้านในเขตโปโลที่เลี้ยงปลาหมอกว่า 81 ราย สามารถเพาะเลี้ยงปลาหมอและทำการประมงได้ตลอดทั้งปี เดิมทีเกษตรกรในพื้นที่นิยมเลี้ยงปลาดุกแต่เมื่อเกิดปัญหาปลาดุกราคาตกต่ำและไม่เป็นที่ต้องการของตลาด เกษตรกรบางรายถอดใจเลิกกิจการไปจำนวนมาก จากวิกฤตอันเลวร้ายที่ผ่านมาแล้วกว่า 15 ปี เวลานั้นก็ยังมีเกษตรกรที่ผันเปลี่ยนอาชีพบ้างก็ยังยึดอาชีพประมงอยู่แต่เปลี่ยนประเภทปลาที่เลี้ยง นิตยา กัณฑิศักดิ์ เจ้าของฟาร์มโปโล บอกเล่าเรื่องราวในอดีตว่า เดิมทีได้เพาะเลี้ยงปลาดุกแต่เมื่อเกิดปัญหาตลาดปลาดุกราคาตกต่ำ ไม่เป็นที่ต้องการของตลาด จึงมีแนวความคิดที่จะหาพันธุ์ปลาใหม่ๆ มาเพาะเลี้ยง จนกระทั่งเห็นปลาหมอตามท้องไร่ท้องนา ที่คนอีสานนิยมบริโภคมาก เพราะเป็นปลาที่มีรสชาติอร่อย ประกอบอาหารได้หลากหลายเมนู และเริ่มศึกษาเรื่อยๆ จนทราบว่าปลาหมอยังเป็นที่นิยมของผู้บริโภคทั่วทุกภาค จึงเริ่มศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมเพื่อจะเริ่มเรียนรู้การเลี้ยงปลาหมอ จากทั้งสถานศึกษา เกษตรกรที่เคยเลี้ยงมาก่อนลองผิดลองถูกมานาน ถูกหลอกมาก็มาก หมดเงินไปจำนวนมาก สุดท้ายเลยต้องลองขยายพันธุ์เอง เอาปลาหมอตามท้องไร่ท้องนามาผสมพันธุ์กับปลาหมอที่ขายตามท้องตลาดบ้าง ช่วงแรกๆ ในระยะ 3 ปี 8 เดือน น่าจะใช้ปลาทดลองไปเป็นตันๆ ทั้งตัวใหญ่ ตัวเล็ก ประกอบกับการศึกษาค้นคว้า สอบถามผู้รู้บ้าง จนกระทั่งประสพผลสำเร็จ สามารถนำปลาหมอที่อยู่ในช่วงอนุบาลมาแปลงเพศตามเทคนิควิธีการของทางฟาร์ม และเลี้ยงโดยอาหารปลาดุก ใช้เวลาเลี้ยงให้อาหารเช้าเย็นอยู่ประมาณ 3 เดือน ก็ได้ปลาหมอไซส์ยักษ์ออกจำหน่าย“คุณสมบัติเด่นของปลาหมอจากฟาร์มโปโล จะมีโครงสร้างลำตัวคล้ายรูปใบโพธิ์ หัวเล็ก ขึ้นสัน ตัวสีเหลืองทองและมีไข่ทุกตัว ระยะเวลาเลี้ยง 90 วัน ปลาจะมีขนาดประมาณ 300-400 กรัม หรือประมาณ 3 ตัว ต่อ 1 กก. ขณะที่การเลี้ยงในระยะเวลา 120 วัน จะมีขนาดตัวละ 1 กก.สำหรับบ่อจะมีขนาดประมาณ 1 ไร่ ความลึกประมาณ 1.20-1.50 เมตร เลี้ยงปลาหมอได้ประมาณ 15,000-20,000 ตัว อัตราการตายของปลาหมอน้อยกว่าปลาอื่นๆ เพราะมีความอึด ความทนต่อภาวะแห้งแล้งน้ำน้อยเป็นอย่างดี ซึ่งเป็นคุณสมบัติเด่นของปลาพันธุ์พื้นบ้านอีสาน ส่วนขนาดตัวที่ใหญ่และน้ำหนักตัวมากนั้น มาจากการแปลงเพศ เพราะแต่เดิมปลาหมอไทยจะตัวเล็ก โตช้า เฉลี่ย 10-15 ตัวต่อ 1 กก. ส่วนการแปลงเพศปลาหมอให้ตัวใหญ่ มีเคล็ดลับง่ายๆ คือต้องแปลงให้เป็นเพศเมียเท่านั้น ขณะที่ระบบนิเวศทั้งเรื่องน้ำและอากาศ ถ้าน้ำดี อากาศสดใส ปลาไม่เครียด ก็กินอาหารได้เยอะทำให้ปลาโตไวด้วย” นิตยา ระบุว่า ตอนนี้ปลาหมอขายกันที่ปากบ่อ ตัวสดๆ ราคา กก.ละ 80-100 บาท ส่วนการจำหน่ายแบบปลาน็อกเพื่อส่งห้องเย็นเฉลี่ยอยู่ที่ กก.ละ 100 บาท 1 บ่อจะได้ปลาสดวัย 3 เดือนอยู่ที่ 5,000-6,000 กก. ขณะที่ทางโปโลฟาร์มยังจำหน่ายพันธุ์ปลาหมอวัยอนุบาล ซึ่งมีเครือข่ายเกษตรกรอยู่ทั่วประเทศ แต่ตอนนี้ยอดจองพันธุ์ปลาหมอของทางฟาร์มคิวยาวถึงปีหน้า แต่ถ้าเกษตรกรสนใจสามารถมาชมการเพาะเลี้ยงและขอคำปรึกษาได้ที่ฟาร์มสำหรับเกษตรกรที่มีความสนใจเพาะเลี้ยงปลาหมอเป็นอาชีพเสริมและอาชีพหลัก มีข้อมูลสำคัญที่ต้องเสนอที่ขณะนี้ปลาหมอยังเป็นที่ต้องการของตลาด มีผู้นิยมบริโภคจำนวนมาก รวมถึงการส่งออกไปต่างประเทศในลักษณะเนื้อปลาสด ถือเป็นช่องทางโอกาสสำคัญที่จะสร้างรายได้และเม็ดเงินจากการทำประมงด้วยการเลี้ยงปลาหมอ อย่างที่ฟาร์มโปโลได้ทำมาตลอดระยะเวลา 10 ปี ขณะที่ประชาชนทั่วไปก็อยากจะเชิญชวนให้ลองมาบริโภคปลาหมอดูบ้าง เพราะสามารถนำมาประกอบอาหารเป็นสารพัดเมนูแสนอร่อยได้มากมาย แบบไม่มีสารตกค้าง เมนูยอดนิยมทั้งปลาจุ่ม ปลาลวกจิ้ม ปลาทอดแดดเดียว และฉู่ฉี่ เป็นต้นความสำเร็จของนิตยา กัณฑิศักดิ์ เกษตรกรผู้เลี้ยงปลาหมอ แม้ว่าวุฒิการศึกษาเพียง ม.6 แต่ด้วยการลองผิดลองถูก ด้วยความเพียรพยายาม ไม่ย่อท้อแม้จะพบอุปสรรคปัญหามามากมาย ผลสำเร็จที่เกิดขึ้นที่โปโลฟาร์ม ฟาร์มชาวบ้านของเกษตรกรตัวเล็กๆ จึงถือเป็นต้นแบบของเกษตรกรที่ควรเอาอย่าง และพร้อมที่จะตอบแทนสังคมในการมอบโอกาสดีๆ ให้กับเกษตรกรไทยทั่วประเทศ ที่มา http://feedclip.blogspot.com Share on Facebook Share on Twitter Share on Google Plus About Unknown This is a short description in the author block about the author. You edit it by entering text in the "Biographical Info" field in the user admin panel. RELATED POSTS ด่วน! ล็อกตัวแล้ว คนขับเก๋งพา “ยิ่ง...โชเฟอร์สิบล้อ แวะกินข้าวข้างทาง เข้...ไปหามาเก็บด่วน! “แบงค์เรียกเงินประจ...
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น